ยินดีต้อนรับ

โค้ด ยินดีต้อนรับสู่บล็อกของ นางสาวจิราภรณ์ นวลโฉม ค่ะ

วันศุกร์ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทิน ครั้งที่5

บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน
วันที่ 12 เดือนธันวาคม  2556
ครั้งที่ 5 กลุ่มเรียน 103 (วันพฤหัสบดีเช้า)
เวลา  08.30-12.20 น.



การเรียนในวันนี้

              กรอบมาตรฐานการเรียนรู็คณิตศาสตร์ปฐมวัย

       
                   สาระและมาตรฐานการเรียนรู้
  • สาระที่ 1 : จำนวนและการดำเนินการ
  • สาระที่ 2 : การวัด
  • สาระที่ 3 : เรขาคณิต
  • สาระที่ 4 : พีชคณิต
  • สาระที่ 5 : การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
  • สาระที่ 6 : ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์

                  คุณภาพของเด็กเมื่อจบการศึกษาปฐมวัย
  1. มีความคิดเชิงคณิตศาสตร์(Mathematical Thinking)
  • จำนวนนับ 1 ถึง 20
  • เข้าใจหลักการการนับ
  • รู้จักตัวเลขฮินดูอารบิกและตัวเลขไทย
  • รู้ค่าของจำนวน
  • เปรียบเทียบเรียงลำดับ
  • การรวบรวมและการแยกกลุ่ม
   2. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงิน และเวลา 
  • เปรียบเทียบ เรียงลำดับ และวัดความยาว น้ำหนัก ปริมาตร
  • รู้จักเงินเหรียญและธนบัตร
  • เข้าใจเกี่ยวกับเวลาและคำที่ใช้บอกช่วงเวลา
   3. มีความรู้ความเข้าใจพิ้นฐานทางเรขาคณิต
  • ตำแหน่ง ทิศทาง ระยะทาง
  • รูปเรขาคณิตสามมิติและรูปเรขาคณิตสองมิติ
   4. มีความรู้ความเข้าใจแบบรูปของรูปที่มีรูปร่าง ขนาด สีที่สัมพันธ์อย่างใดอย่างใดอย่างหนึ่ง

   5. มีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลและนำเสนอข้อมูลในรูปแผนภูมิอย่างง่าย

   6. มีทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ที่จำเป็น


สาระที่ 1 : จำนวนและการดำเนินการ

-มาตรฐาน ค.ป. 1.1 เข้าใจถึงความหลาวหลายของการแสดงจำนวนและการใช้จำนวนในชีวิตจริง

                    จำนวน
  • การใช้จำนวนบอก ปริมาณที่ได้จากการนับ
  • การอ่านตัวเลขฮินดูอารบิก และตัวเลขไทย
  • การเขียนตัวเลขฮินดูอารบิกแสดงจำนวน
  • การเปรียบเทียบจำนวน
  • การเรียงลำดับจำนวน
ภาพตัวอย่าง
เป็นการเปรียบเทียบจำนวน ระหว่างกระต่าง4ตัว กับลูกหมี2ตัว

 

           การรวม และการแยกกลุ่ม

  • ความหมายของการรวม
  • การรวมสิ่งต่างๆสองกลุ่มที่มีผลรวม ไม่เกิน10
  • ความหมายของการแยก
  • การแยกกลุ่มย่อยออกจากกลุ่มใหญ่ที่มีจำนวนไม่เกิน10

ภาพตัวอย่าง

จากภาพตัวอย่างจะเป็นการแยกกลุ่มระหว่างกระต่ายกับหมีซึ่งจะทำให้เด็กสามารถเข้าใจได้ว่าถ้าเหมือนกันก็จะต้องอยู่ด้วยกัน



สาระที่2 :  การวัด
          
           - มาตรฐาน ค.ป. 2.1  เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัดความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงิน และเวลา 

              ความยาว น้ำหนัก และปริมาณ
  • การเปรียบเทียบ/การวัด/การเรียงลำดับความยาว
  • การเปรียบเทียบ/การชั่ง/การเรียงลำดับน้ำหนัก
  • การเปรียบเทียบปริมาตร/การตวง

ภาพกิจกรรม


สาระที่ 3 : เรขาคณิต
  • มาตรฐาน ค.ป. 3.1 รู้จักใช้คำในการบอกตำแหน่งทิศทาง และระยะทาง
  • มาตรฐาน ค.ป. 3.2 รู้จัก จำแนกรูปเรขาคณิต และเข้าใจการเปลี่ยนแปลงรูปเรขาคณิตที่เกิดจากการจัดกระทำ


            ตำแหน่งทิศทาง และระยะทาง
  • การบอกตำแหน่ง ทิศทาง และ ระยะทาง ของสิ่งต่างๆ

            รูปเรขาคณิตสามมิติ และ รูปเรขาคณิตสองมิติ
  • ทรงกลม ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก กรวย ทรงกระบอก
  • รูปวงกลม รูปสามเหลี่ยม รูปสี่เหลี่ยม
  • การเปลี่ยนแปลง รูปเรขาคณิตสองมิติ
  • การสร้างสรรค์งาน ศิลปะจากรูปเรขาคณิตสามมิติและสองมิติ





สาระที่ 4 : พีชคณิต
  • มาตรฐาน ค.ป. 4.1  เข้าใจแบบรูปและความสัมพันธ์

                      แบบรูป และ ความสัมพันธ์
  • แบบรูปของรูปที่มี รูปร่าง ขนาด หรือ สี ที่สัมพันธ์กัน อย่างใดอย่างหนึ่ง



สาระที่ 5 : การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น

  • มาาตรฐาน ค.ป. 5.1 รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับตนเองและสิ่งแวดล้อม และนำเสนอ

                  การเก็บรวบรวมข้อมูลและการนำเสนอ
  • การนำเสนอข้อมูลในรูปแผนภูมิอย่างง่าย

สาระที่ 6 : ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
  • การแก้ปัญหา การใช้เหตุผล การสื่อสาร การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ และการนำเสนอ การเชื่อมโยงความรู้ต่างๆ ทางคณิตศาสตร์ และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่นๆ และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์




   กิจกรรมในวันนี้

       อาจารย์ได้แจกกระดาษ A4  คนละแผ่น  และได้บอกให้นักศึกษาเลือกรูปเรขาคณิตที่ตัวเองชอบ เพื่อที่จะนำรูปเรขาคณิตที่เราเลือกไปทำเป็นรูปสัตว์ต่างๆ  ดิฉันได้เลือกรูปสี่เหลี่ยม และเมื่อนำกระดาษที่ตัดเป็นรูปสีเหลี่ยมมาแปะกับกระดาษก็ได้วาดเป็นรูปกระต่ายยกแครอทไว้บนหัว


ภาพกิจกรรม

( กระต่ายน้อยของฉัน)





ความรู้และการนำไปใช้

         ความรู้ที่ได้จากการเรียนในวันนี้ได้รู้เกี่ยวกับเนื้อหาสาระและมาตรฐานการเรียนรู้ทั้ง 6 สาระได้เป็นอย่างดี ซึ่งเป็นสาระการเรียนรู็ทางคณิตศาสตร์ เราสามารถที่จะนำความรู้ต่างๆเหล่านี้ไปปรับใช้ในการเรียนการสอนในอนาคตได้ สามารถบูรณาการให้ในการสอนเด็กได้   และยังสามารถที่จะดัดแปลงความคิดสร้างสรรค์ที่เกี่ยวข้องกับเรขาคณิตจากรูปทรงต่างๆ ให้นำมาประดิษฐ์เป็นรูปต่างๆซึ่งออกมาเป็นผลงานที่น่าพึงพอใจเป็นอย่างมาก ถ้าเรานำไปสอนเด็กในอนาคตเด็กจะชอบและอยากที่จะทำงานชิ้นนี้




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น