ยินดีต้อนรับ

โค้ด ยินดีต้อนรับสู่บล็อกของ นางสาวจิราภรณ์ นวลโฉม ค่ะ

วันอาทิตย์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทิน ครั้งที่9


บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน
วันที่ 30 เดือนมกราคม 2557
ครั้งที่ 9 กลุ่มเรียน 103 (วันพฤหัสบดีเช้า)
เวลา  08.30-12.20 น.


               การเรียนในวันนี้


                          วันนี้เป็นการนำเสนอสื่อต่างๆ ทั้งของกลุ่มตนเองและกลุ่มเพื่อน

         
         สื่อกลุ่มของดิฉัน

 ชื่อสื่อ  เลขหรรษามหาสนุก


       วิธีการเล่น
  •      ให้เด็กหยิบไม้หนีบที่ติดตัวเลขไว้  นำไปหนีบให้ตรงกับจำนวนนับในช่องให้ถูกต้อง


       ผลที่ได้จากการทดลอง
  • สื่อชิ้นนี้เป็นที่ชื่่นชอบมากแก่เด็ก เด็กเล่นอย่างสนุกสนาน เมื่อเด็กเห็นสื่อสามารถทำความเข้าใจกับสื่อได้ด้วยตนเอง  โดยไม่ต้องอธิบาย
      สรุป

  • เด็กชอบสื่อชิ้นนี้  และสื่อชิ้นนี้ให้ความความรู้ในเรื่องของจำนวนนับ เด็กได้ฝึกการนับจำนวน



สื่อที่ชอบ  " เกมลูกคิดสายรุ้ง"


ดิฉันชอบสื่อชิ้นนี้เพราะ  มีความสวยงามสามารถดึงดูดใจเด็ก  มีความน่าสนใจในเรื่องของสีสันลักษณะและรูปแบบ เมื่อเด็กเห็นแล้วทำให้เด็กอยากเล่น  สื่อชิ้นนี้ทำมาจากวัสดุเหลือใช้  และยังช่วยส่งเสริมทางด้านคณิตศาสตร์ได้เป็นอย่างดี


สื่อของเพื่อนแต่ละกลุ่ม




ชื่อสื่อที่เพื่อนนำเสนอ
  1. โดมิโน
  2. ลูกคิดสายรุ้ง
  3. โยนแล้วนับลูกเต๋าน่ารู้
  4. บอกเลขจำนวนนับ
  5. เรียงเลขพาเพลิน
  6. ฉันคืออะไร
  7. กล่องจับคู่กับตัวเลข
  8. นับหัวใจใส่ตัวเลข
  9. นับจำนวนสัตว์
  10. เรขาคณิตมหาสนุก
  11. คณิตลองคิดดู
  12. เรียนงลำดับรูปทรงและเรียงภาพตามรูปทรง
  13. เรขาคณิต
  14. นาฬิกาสัตว์
  15. รูปทรงมิติ
  16. สิงห์สาราสัตว์
  17. นับเสื้อผ้าของหนู
  18. บ้านหรรษา
  19. โดมิโน เรขาคณิตและจำนวนนับ
  20. สัตว์น้อยชวนนับ



     






 

 ความรู้และการนำไปใช้

          จากการที่ได้ทำสื่อคณิตศาสตร์ ทำให้มีประสบการณ์มากขึ้นในการที่จะผลิดสื่อให้กับเด็กได้  และสามารถนำความรู้เกี่ยวกับการทำสื่อไปใช้ประโยชน์ในอนาคตได้เป็นอย่างดี





วันพุธที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 8


บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน
วันที่ 23 เดือนมกราคม 2557
ครั้งที่ 8 กลุ่มเรียน 103 (วันพฤหัสบดีเช้า)
เวลา  08.30-12.20 น.


การเรียนในวันนี้


       อาจารย์ได้ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มกันเพื่อนที่จะช่วยกันคิดช่วยกันทำแผนการสอนวิชาการจัดประสบการณ์ทมางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  เมื่อทำงานกลุ่มเสร็จอาจารย์ก็ให้หัดเขียนแผนการสอนเป็นรายบุคคล ดิฉันได้คิดแผนการสอน ชื่อกิจกรรม ...แก้วน้ำพาเพลิน...(หน่วย น้ำ)






ความรู้และการนำไปใช้

     ได้เรียนรู้เรื่องการเขียนแผนการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ทำให้มีทักษะและกระบวนการในการเขียนแผนมากยิ่งขึ้น ได้ความสามัคคีกันในกลุ่มช่วยกันคิดช่วยกันทำ  จากการเขียนแผนวันนี้สามารถนำไปใช้ในอานาคตได้เป็นอย่างดี ในการที่จะเขียนแผนเพื่อที่จะสอนเด็ก
    

















บันทึกอนุทินครั้งที่ 7



บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน
วันที่ 16 เดือนมกราคม   2557
ครั้งที่ 7 กลุ่มเรียน 103 (วันพฤหัสบดีเช้า)
เวลา  08.30-12.20 น.



การเรียนในวันนี้
  
            วันนี้ได้ทำ2กิจกรรม  โดยาจารย์ให้แบ่งกลุ่มกันทำกิจกรรม  ดังนี้


    - กิจกรรมรูปเรขาคณิต
โดยแบ่งกลุ่มกันทำรูปตัวหนอนโดยใช้รูปร่างเรขาคณิตตามความคิดของเราเอง ซึ้งสอดคล้องกับมาตารฐาน ค.ป. 3.2 :รู้จัก จำแนกรูปเรขาคณิต และเข้าใจการเปลี่ยนแปลงรูปเรขาคณิตที่เกิดจากการจัดกระทำ

ภาพกิจกรรม







ผลงานของกลุ่มดิฉัน
ได้ทำตัวหนอนโดยใช้รูปสัตว์ต่างๆ เช่น แมว วัว หมี  ในการนำสัตว์ต่างๆเหล่านี้มาต่อกันเป็นรูปตัวหนอน ทำให้เด็กได้รู้จักชนิดของสัตว์มากขึ้น เด็กสามารถเรียงประเภทสัตว์ เรียงสี ได้ถูกต้อง 







ผลงานของเพื่อนๆแต่ละกลุ่ม






  -  กิจกรรมการวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น

     โดยแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่3กลุ่ม และให้วิเคราะห์ข้อมูลเป็น แบบตาราง แบบแผนภูมิ แบบวงกลม  ซึ่งตรงกับมาตรฐาน ค.ป. 5.1 :รวบรวมข้อมูลที่เกียวกับตนเองและสิ่งแวดล้อม และนำเสนอ



ความรู้และการนำไปใช้

    กิจกรรมทั้ง2กิจกรรมที่ได้ทำในวันนี้ถือเป็นสิ่งสำคัญมากในการที่จะสอนเด็กไม่ว่าจะเป็นการการต่อรูปร่างตัวหนอน การนำเสนอแผนภูมิต่างๆ ซึ่งจากการที่เราได้ลองทำมันทำให้มีประสบการณ์มากขึ้น รู้และเข้าใจถึงกิจกรรมที่ได้ทำ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนได้เป็นอย่างดี




วันพุธที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทิน ครั้งที่6


บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน
วันที่ 9 เดือนมกราคม   2557
ครั้งที่ 6 กลุ่มเรียน 103 (วันพฤหัสบดีเช้า)
เวลา  08.30-12.20 น.




การเรียนในวันนี้

                   วันนี้อาจารย์ได้สั่งให้นักศึกษาช่วยกันคิดนิทาน1เรื่องโดยมีสามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม และวงกลม เพื่อนแต่ละคนก็ช่วยกันคิดตั้งแต่ตอนเริ่มเรื่องจนถึงต้อนจบ และสุดท้ายก็ช่วยกันคิดชื่อเรื่อง
การทำนิทานในครั้งนี้อาจารย์ได้ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มกัน เพื่อจับฉลากเอานิทานแต่ละตอนมาวาดรูป
ดังนี้


       นิทานเรื่อง "สามเกลอเจอแก๊ส"

1. กาลครัั้งหนึ่งมีเพื่อนสามสหายชื่อว่า  สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม และวงกลม ทั้งสามคนมีบุคลิกที่แต่งต่างกัน เจ้าสามเหลี่ยมมีอารมณ์ที่ขี้โมโห เจ้าสี่เหลี่ยมเป็นคนใจกว้าง เจ้าวงกลมเป็นคนเจ้าชู้ 
2. วันหนึ่งเจ้าเพื่อนสามคนนี้ได้ออกไปเที่ยวผับกัน
3. แตพอเข้าไปแล้วเจ้าสามเหลี่ยมก็รู้สึกหงุดหงิดเเพราะในผับเสียงดัง เจ้าสี่เหลี่ยมก็อยู่เฉยๆ ส่วนเจ้าวงกลมก็มัวแต่จีบสาว คนในผับมันกำลังเคาท์ดาวน์กันอยู่
4. อยู่ๆก็มีแก๊สน้ำตาถูกโยนเข้ามาในผับ
5. เจ้าสี่เหลี่ยมก็เลยเป่านกหวีดเพื่อบอกให้เพื่อนๆอยู่ในความสงบ
6. เจ้าวงกลมตะโกนบอกเพื่อนให้เอาผ้าปิดจมูก
7. เจ้าสามเหลี่ยมวิ่งไปจับคนที่ขว้างแก๊สน้ำตา
  • 8. แล้วทุกคนก็ทยอยกันออกไปจากผับ และทุกคนก็แยกย้ายกลับบ้านอย่างปลอดภัย



ภาพกิจกรรม


ตอน::   แล้วทุกคนก็ทยอยกันออกไปจากผับ และทุกคนก็แยกย้ายกลับบ้านอย่างปลอดภัย
" ผลงานกลุ่มของดิฉัน" 




ผลงานของเพื่อนๆแต่ละกลุ่ม





   ความรู้และการนำไปใช้

        จากการที่ได้แต่งนิทานร่วมกันกับเพื่อนในวันนี้เราจะเห็นได้ว่าเพื่อนแต่ละคนต่างก็มีความคิดที่แตกต่างกันออกไป และความคิดหลายๆแบบทำให้เราสามารถรวบรวมมาเป็นนิทานได้หนึ่งเรื่อง ซึงเป็นสิ่งที่ดีมาก ทำให้เรามีประสบการณ์ในการแต่งนิทาน โดยเนื้อเรื่องเราสามารถนำสิ่งทั่วๆไปรอบตัวเรามาปรับแต่งให้เป็นนิทานสำหรับเด็กได้ดียิ่งขึ้น แล้วเป็นการประติบประต่อเรื่องให้เข้ากัน และสอดคล้องกับรูปภาพ  สิ่งที่ได้ทำเหล่านี้สามารถนำไปใช้ในอนาคตได้เป็นออกดี เมื่อเราไปสอนได้เราก็สามารถให้เด็กช่วยแต่งนิทานเป็นความคิดของเด็กเองได้ จะทำให้เด็กได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์เป็นอย่างดี






วันศุกร์ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทิน ครั้งที่5

บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน
วันที่ 12 เดือนธันวาคม  2556
ครั้งที่ 5 กลุ่มเรียน 103 (วันพฤหัสบดีเช้า)
เวลา  08.30-12.20 น.



การเรียนในวันนี้

              กรอบมาตรฐานการเรียนรู็คณิตศาสตร์ปฐมวัย

       
                   สาระและมาตรฐานการเรียนรู้
  • สาระที่ 1 : จำนวนและการดำเนินการ
  • สาระที่ 2 : การวัด
  • สาระที่ 3 : เรขาคณิต
  • สาระที่ 4 : พีชคณิต
  • สาระที่ 5 : การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
  • สาระที่ 6 : ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์

                  คุณภาพของเด็กเมื่อจบการศึกษาปฐมวัย
  1. มีความคิดเชิงคณิตศาสตร์(Mathematical Thinking)
  • จำนวนนับ 1 ถึง 20
  • เข้าใจหลักการการนับ
  • รู้จักตัวเลขฮินดูอารบิกและตัวเลขไทย
  • รู้ค่าของจำนวน
  • เปรียบเทียบเรียงลำดับ
  • การรวบรวมและการแยกกลุ่ม
   2. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงิน และเวลา 
  • เปรียบเทียบ เรียงลำดับ และวัดความยาว น้ำหนัก ปริมาตร
  • รู้จักเงินเหรียญและธนบัตร
  • เข้าใจเกี่ยวกับเวลาและคำที่ใช้บอกช่วงเวลา
   3. มีความรู้ความเข้าใจพิ้นฐานทางเรขาคณิต
  • ตำแหน่ง ทิศทาง ระยะทาง
  • รูปเรขาคณิตสามมิติและรูปเรขาคณิตสองมิติ
   4. มีความรู้ความเข้าใจแบบรูปของรูปที่มีรูปร่าง ขนาด สีที่สัมพันธ์อย่างใดอย่างใดอย่างหนึ่ง

   5. มีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลและนำเสนอข้อมูลในรูปแผนภูมิอย่างง่าย

   6. มีทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ที่จำเป็น


สาระที่ 1 : จำนวนและการดำเนินการ

-มาตรฐาน ค.ป. 1.1 เข้าใจถึงความหลาวหลายของการแสดงจำนวนและการใช้จำนวนในชีวิตจริง

                    จำนวน
  • การใช้จำนวนบอก ปริมาณที่ได้จากการนับ
  • การอ่านตัวเลขฮินดูอารบิก และตัวเลขไทย
  • การเขียนตัวเลขฮินดูอารบิกแสดงจำนวน
  • การเปรียบเทียบจำนวน
  • การเรียงลำดับจำนวน
ภาพตัวอย่าง
เป็นการเปรียบเทียบจำนวน ระหว่างกระต่าง4ตัว กับลูกหมี2ตัว

 

           การรวม และการแยกกลุ่ม

  • ความหมายของการรวม
  • การรวมสิ่งต่างๆสองกลุ่มที่มีผลรวม ไม่เกิน10
  • ความหมายของการแยก
  • การแยกกลุ่มย่อยออกจากกลุ่มใหญ่ที่มีจำนวนไม่เกิน10

ภาพตัวอย่าง

จากภาพตัวอย่างจะเป็นการแยกกลุ่มระหว่างกระต่ายกับหมีซึ่งจะทำให้เด็กสามารถเข้าใจได้ว่าถ้าเหมือนกันก็จะต้องอยู่ด้วยกัน



สาระที่2 :  การวัด
          
           - มาตรฐาน ค.ป. 2.1  เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัดความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงิน และเวลา 

              ความยาว น้ำหนัก และปริมาณ
  • การเปรียบเทียบ/การวัด/การเรียงลำดับความยาว
  • การเปรียบเทียบ/การชั่ง/การเรียงลำดับน้ำหนัก
  • การเปรียบเทียบปริมาตร/การตวง

ภาพกิจกรรม


สาระที่ 3 : เรขาคณิต
  • มาตรฐาน ค.ป. 3.1 รู้จักใช้คำในการบอกตำแหน่งทิศทาง และระยะทาง
  • มาตรฐาน ค.ป. 3.2 รู้จัก จำแนกรูปเรขาคณิต และเข้าใจการเปลี่ยนแปลงรูปเรขาคณิตที่เกิดจากการจัดกระทำ


            ตำแหน่งทิศทาง และระยะทาง
  • การบอกตำแหน่ง ทิศทาง และ ระยะทาง ของสิ่งต่างๆ

            รูปเรขาคณิตสามมิติ และ รูปเรขาคณิตสองมิติ
  • ทรงกลม ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก กรวย ทรงกระบอก
  • รูปวงกลม รูปสามเหลี่ยม รูปสี่เหลี่ยม
  • การเปลี่ยนแปลง รูปเรขาคณิตสองมิติ
  • การสร้างสรรค์งาน ศิลปะจากรูปเรขาคณิตสามมิติและสองมิติ





สาระที่ 4 : พีชคณิต
  • มาตรฐาน ค.ป. 4.1  เข้าใจแบบรูปและความสัมพันธ์

                      แบบรูป และ ความสัมพันธ์
  • แบบรูปของรูปที่มี รูปร่าง ขนาด หรือ สี ที่สัมพันธ์กัน อย่างใดอย่างหนึ่ง



สาระที่ 5 : การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น

  • มาาตรฐาน ค.ป. 5.1 รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับตนเองและสิ่งแวดล้อม และนำเสนอ

                  การเก็บรวบรวมข้อมูลและการนำเสนอ
  • การนำเสนอข้อมูลในรูปแผนภูมิอย่างง่าย

สาระที่ 6 : ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
  • การแก้ปัญหา การใช้เหตุผล การสื่อสาร การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ และการนำเสนอ การเชื่อมโยงความรู้ต่างๆ ทางคณิตศาสตร์ และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่นๆ และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์




   กิจกรรมในวันนี้

       อาจารย์ได้แจกกระดาษ A4  คนละแผ่น  และได้บอกให้นักศึกษาเลือกรูปเรขาคณิตที่ตัวเองชอบ เพื่อที่จะนำรูปเรขาคณิตที่เราเลือกไปทำเป็นรูปสัตว์ต่างๆ  ดิฉันได้เลือกรูปสี่เหลี่ยม และเมื่อนำกระดาษที่ตัดเป็นรูปสีเหลี่ยมมาแปะกับกระดาษก็ได้วาดเป็นรูปกระต่ายยกแครอทไว้บนหัว


ภาพกิจกรรม

( กระต่ายน้อยของฉัน)





ความรู้และการนำไปใช้

         ความรู้ที่ได้จากการเรียนในวันนี้ได้รู้เกี่ยวกับเนื้อหาสาระและมาตรฐานการเรียนรู้ทั้ง 6 สาระได้เป็นอย่างดี ซึ่งเป็นสาระการเรียนรู็ทางคณิตศาสตร์ เราสามารถที่จะนำความรู้ต่างๆเหล่านี้ไปปรับใช้ในการเรียนการสอนในอนาคตได้ สามารถบูรณาการให้ในการสอนเด็กได้   และยังสามารถที่จะดัดแปลงความคิดสร้างสรรค์ที่เกี่ยวข้องกับเรขาคณิตจากรูปทรงต่างๆ ให้นำมาประดิษฐ์เป็นรูปต่างๆซึ่งออกมาเป็นผลงานที่น่าพึงพอใจเป็นอย่างมาก ถ้าเรานำไปสอนเด็กในอนาคตเด็กจะชอบและอยากที่จะทำงานชิ้นนี้




วันอังคารที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทิน ครั้งที่4

บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน
วันที่ 28 เดือนพฤษจิกายน  2556
ครั้งที่ 4 กลุ่มเรียน 103 (วันพฤหัสบดีเช้า)
เวลา  08.30-12.20 น.



การเรียนในวันนี้
     
         วันนี้เป็นวันที่อาจารย์ได้นัดหมายให้ออกมานำเสนองานที่แต่ละกลุ่มได้รับมอบหมาย

    กลุ่มที่ 1  เรื่องจำนวนและการดำเนินการ


            สรุปเนื้อหา:  จะเกี่ยวกับจำนวนของปริมาณสิ่งของต่างๆ การดำเนินการที่เป็นการกระทำหรือลำดับขั้นตอนที่สร้างค่าใหม่ขึ้นมาเป็นผลลัพธ์ ส่วนกิจกรรมเป็นการยกตัวอย่างของจำนวนสิ่งของต่างๆ เป็นรูปภาพมาให้นักเรียนนับและมีตัวเลขเฉลย


       กลุ่มที่ 2  เรื่องการวัด

    
               สรุปเนื้อหา:  การวัด ที่เพื่อนได้นำเสนอจะเป็นการหาคำตอบเกี่ยวกับ เวลา ระยะทาง น้ำหนักด้วยการจับเวลา การวัดระยะทางการชั่งน้ำหนักหรือการตวง ซึ่งมีหน่วยที่แน่นอน แต่การวัดที่ใช้สำหรับเด็กอนุบาลต้องไม่มีหน่วย   
      
ภาพตัวอย่าง





      กลุ่มที่ 3 เรื่องพีชคณิต



              สรุปเนื้อหา: พีชคณิต คือ เลขคณิตของสัญลักษณ์ที่ใช้แทนจำนวนตัวเลข คือแทนที่จะหาความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนตัวเลข เลขเฉพาะค่าพีชคณิตแสดงความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณใดๆในรูปแบบทั่วไปมากกว่า   โดยไม่จำเป็นต้องทราบค่าปริมาณ เป็นจำนวนเลขเลย การจัดการทางคณิตศาสตร์ได้แก่ การบวก การลบ การคูณ และการหาร   



        กลุ่มที่4 เรื่องเรขาคณิต



         สรุปเนื้อหา: เรขาคณิต หมายถึง คณิตศาสตร์แขนงหนึ่งที่ว่าด้วยการจำแนกประเภท สมบัติ และโครงสร้างของเซตของจุดที่เรียงกันอย่างมีระเบียบตามกฏเกณฑ์ที่กำหนดในรูปทรงต่างๆ เช่น เส้นตรง วงกลม รูปทรงสามเหลี่ยมระนาบ รูปทรงกรวย  เป็นต้น

ภาพตัวอย่าง

           

   

        กลุ่มที่ 5 เรื่องการวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น







      สรุปเนื้อหา: การวิเคราะห์ข้อมูลความน่าจะเป็น คือ การเก็บข้อมูลและการนำเสนอ  เช่น
 - การนำเสนอข้อมูล ในแผนภูมิอย่างง่าย    
      การวิเคราะห์ข้อมูลที่เหมาะสมในชั้นเรียนระดับปฐมวัยคือ การเปรียบเทียบและการประมวลข้อมูล หลายกิจกรรมในชั้นเรียนเกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์ข้อมูล
      





 ความรู้และการนำไปใช้

      จากที่ได้ฟังเพื่อนทุกกลุ่มในการนำเสนองานทำให้เราได้รู้ข้อมูลเกี่ยวกับคณิตศาสตร์สำหรับเด็กเพิ่มมากขึ้นไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของ จำนวนและการดำเนินงาน การวัด พีชคณิต เรขาคณิต และการวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น  ทำให้เราสามารถที่จะนำเนื้อหาความรู้ต่างๆ เหล่านี้ไปใช้ในการสอนเด็กปฐมวัยได้อย่างถูกต้องและมีเป็นหลักการ เพราะบางเนื้อหาเราไม่สามารถที่จะค้นหาด้วยตัวเองแต่เมื่อเพื่อนออกมานำเสนอทำให้เราเข้าใจ ได้มากยิ่งขึ้น