ยินดีต้อนรับ

โค้ด ยินดีต้อนรับสู่บล็อกของ นางสาวจิราภรณ์ นวลโฉม ค่ะ

วันศุกร์ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทิน ครั้งที่5

บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน
วันที่ 12 เดือนธันวาคม  2556
ครั้งที่ 5 กลุ่มเรียน 103 (วันพฤหัสบดีเช้า)
เวลา  08.30-12.20 น.



การเรียนในวันนี้

              กรอบมาตรฐานการเรียนรู็คณิตศาสตร์ปฐมวัย

       
                   สาระและมาตรฐานการเรียนรู้
  • สาระที่ 1 : จำนวนและการดำเนินการ
  • สาระที่ 2 : การวัด
  • สาระที่ 3 : เรขาคณิต
  • สาระที่ 4 : พีชคณิต
  • สาระที่ 5 : การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
  • สาระที่ 6 : ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์

                  คุณภาพของเด็กเมื่อจบการศึกษาปฐมวัย
  1. มีความคิดเชิงคณิตศาสตร์(Mathematical Thinking)
  • จำนวนนับ 1 ถึง 20
  • เข้าใจหลักการการนับ
  • รู้จักตัวเลขฮินดูอารบิกและตัวเลขไทย
  • รู้ค่าของจำนวน
  • เปรียบเทียบเรียงลำดับ
  • การรวบรวมและการแยกกลุ่ม
   2. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงิน และเวลา 
  • เปรียบเทียบ เรียงลำดับ และวัดความยาว น้ำหนัก ปริมาตร
  • รู้จักเงินเหรียญและธนบัตร
  • เข้าใจเกี่ยวกับเวลาและคำที่ใช้บอกช่วงเวลา
   3. มีความรู้ความเข้าใจพิ้นฐานทางเรขาคณิต
  • ตำแหน่ง ทิศทาง ระยะทาง
  • รูปเรขาคณิตสามมิติและรูปเรขาคณิตสองมิติ
   4. มีความรู้ความเข้าใจแบบรูปของรูปที่มีรูปร่าง ขนาด สีที่สัมพันธ์อย่างใดอย่างใดอย่างหนึ่ง

   5. มีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลและนำเสนอข้อมูลในรูปแผนภูมิอย่างง่าย

   6. มีทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ที่จำเป็น


สาระที่ 1 : จำนวนและการดำเนินการ

-มาตรฐาน ค.ป. 1.1 เข้าใจถึงความหลาวหลายของการแสดงจำนวนและการใช้จำนวนในชีวิตจริง

                    จำนวน
  • การใช้จำนวนบอก ปริมาณที่ได้จากการนับ
  • การอ่านตัวเลขฮินดูอารบิก และตัวเลขไทย
  • การเขียนตัวเลขฮินดูอารบิกแสดงจำนวน
  • การเปรียบเทียบจำนวน
  • การเรียงลำดับจำนวน
ภาพตัวอย่าง
เป็นการเปรียบเทียบจำนวน ระหว่างกระต่าง4ตัว กับลูกหมี2ตัว

 

           การรวม และการแยกกลุ่ม

  • ความหมายของการรวม
  • การรวมสิ่งต่างๆสองกลุ่มที่มีผลรวม ไม่เกิน10
  • ความหมายของการแยก
  • การแยกกลุ่มย่อยออกจากกลุ่มใหญ่ที่มีจำนวนไม่เกิน10

ภาพตัวอย่าง

จากภาพตัวอย่างจะเป็นการแยกกลุ่มระหว่างกระต่ายกับหมีซึ่งจะทำให้เด็กสามารถเข้าใจได้ว่าถ้าเหมือนกันก็จะต้องอยู่ด้วยกัน



สาระที่2 :  การวัด
          
           - มาตรฐาน ค.ป. 2.1  เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัดความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงิน และเวลา 

              ความยาว น้ำหนัก และปริมาณ
  • การเปรียบเทียบ/การวัด/การเรียงลำดับความยาว
  • การเปรียบเทียบ/การชั่ง/การเรียงลำดับน้ำหนัก
  • การเปรียบเทียบปริมาตร/การตวง

ภาพกิจกรรม


สาระที่ 3 : เรขาคณิต
  • มาตรฐาน ค.ป. 3.1 รู้จักใช้คำในการบอกตำแหน่งทิศทาง และระยะทาง
  • มาตรฐาน ค.ป. 3.2 รู้จัก จำแนกรูปเรขาคณิต และเข้าใจการเปลี่ยนแปลงรูปเรขาคณิตที่เกิดจากการจัดกระทำ


            ตำแหน่งทิศทาง และระยะทาง
  • การบอกตำแหน่ง ทิศทาง และ ระยะทาง ของสิ่งต่างๆ

            รูปเรขาคณิตสามมิติ และ รูปเรขาคณิตสองมิติ
  • ทรงกลม ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก กรวย ทรงกระบอก
  • รูปวงกลม รูปสามเหลี่ยม รูปสี่เหลี่ยม
  • การเปลี่ยนแปลง รูปเรขาคณิตสองมิติ
  • การสร้างสรรค์งาน ศิลปะจากรูปเรขาคณิตสามมิติและสองมิติ





สาระที่ 4 : พีชคณิต
  • มาตรฐาน ค.ป. 4.1  เข้าใจแบบรูปและความสัมพันธ์

                      แบบรูป และ ความสัมพันธ์
  • แบบรูปของรูปที่มี รูปร่าง ขนาด หรือ สี ที่สัมพันธ์กัน อย่างใดอย่างหนึ่ง



สาระที่ 5 : การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น

  • มาาตรฐาน ค.ป. 5.1 รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับตนเองและสิ่งแวดล้อม และนำเสนอ

                  การเก็บรวบรวมข้อมูลและการนำเสนอ
  • การนำเสนอข้อมูลในรูปแผนภูมิอย่างง่าย

สาระที่ 6 : ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
  • การแก้ปัญหา การใช้เหตุผล การสื่อสาร การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ และการนำเสนอ การเชื่อมโยงความรู้ต่างๆ ทางคณิตศาสตร์ และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่นๆ และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์




   กิจกรรมในวันนี้

       อาจารย์ได้แจกกระดาษ A4  คนละแผ่น  และได้บอกให้นักศึกษาเลือกรูปเรขาคณิตที่ตัวเองชอบ เพื่อที่จะนำรูปเรขาคณิตที่เราเลือกไปทำเป็นรูปสัตว์ต่างๆ  ดิฉันได้เลือกรูปสี่เหลี่ยม และเมื่อนำกระดาษที่ตัดเป็นรูปสีเหลี่ยมมาแปะกับกระดาษก็ได้วาดเป็นรูปกระต่ายยกแครอทไว้บนหัว


ภาพกิจกรรม

( กระต่ายน้อยของฉัน)





ความรู้และการนำไปใช้

         ความรู้ที่ได้จากการเรียนในวันนี้ได้รู้เกี่ยวกับเนื้อหาสาระและมาตรฐานการเรียนรู้ทั้ง 6 สาระได้เป็นอย่างดี ซึ่งเป็นสาระการเรียนรู็ทางคณิตศาสตร์ เราสามารถที่จะนำความรู้ต่างๆเหล่านี้ไปปรับใช้ในการเรียนการสอนในอนาคตได้ สามารถบูรณาการให้ในการสอนเด็กได้   และยังสามารถที่จะดัดแปลงความคิดสร้างสรรค์ที่เกี่ยวข้องกับเรขาคณิตจากรูปทรงต่างๆ ให้นำมาประดิษฐ์เป็นรูปต่างๆซึ่งออกมาเป็นผลงานที่น่าพึงพอใจเป็นอย่างมาก ถ้าเรานำไปสอนเด็กในอนาคตเด็กจะชอบและอยากที่จะทำงานชิ้นนี้




วันอังคารที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทิน ครั้งที่4

บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน
วันที่ 28 เดือนพฤษจิกายน  2556
ครั้งที่ 4 กลุ่มเรียน 103 (วันพฤหัสบดีเช้า)
เวลา  08.30-12.20 น.



การเรียนในวันนี้
     
         วันนี้เป็นวันที่อาจารย์ได้นัดหมายให้ออกมานำเสนองานที่แต่ละกลุ่มได้รับมอบหมาย

    กลุ่มที่ 1  เรื่องจำนวนและการดำเนินการ


            สรุปเนื้อหา:  จะเกี่ยวกับจำนวนของปริมาณสิ่งของต่างๆ การดำเนินการที่เป็นการกระทำหรือลำดับขั้นตอนที่สร้างค่าใหม่ขึ้นมาเป็นผลลัพธ์ ส่วนกิจกรรมเป็นการยกตัวอย่างของจำนวนสิ่งของต่างๆ เป็นรูปภาพมาให้นักเรียนนับและมีตัวเลขเฉลย


       กลุ่มที่ 2  เรื่องการวัด

    
               สรุปเนื้อหา:  การวัด ที่เพื่อนได้นำเสนอจะเป็นการหาคำตอบเกี่ยวกับ เวลา ระยะทาง น้ำหนักด้วยการจับเวลา การวัดระยะทางการชั่งน้ำหนักหรือการตวง ซึ่งมีหน่วยที่แน่นอน แต่การวัดที่ใช้สำหรับเด็กอนุบาลต้องไม่มีหน่วย   
      
ภาพตัวอย่าง





      กลุ่มที่ 3 เรื่องพีชคณิต



              สรุปเนื้อหา: พีชคณิต คือ เลขคณิตของสัญลักษณ์ที่ใช้แทนจำนวนตัวเลข คือแทนที่จะหาความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนตัวเลข เลขเฉพาะค่าพีชคณิตแสดงความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณใดๆในรูปแบบทั่วไปมากกว่า   โดยไม่จำเป็นต้องทราบค่าปริมาณ เป็นจำนวนเลขเลย การจัดการทางคณิตศาสตร์ได้แก่ การบวก การลบ การคูณ และการหาร   



        กลุ่มที่4 เรื่องเรขาคณิต



         สรุปเนื้อหา: เรขาคณิต หมายถึง คณิตศาสตร์แขนงหนึ่งที่ว่าด้วยการจำแนกประเภท สมบัติ และโครงสร้างของเซตของจุดที่เรียงกันอย่างมีระเบียบตามกฏเกณฑ์ที่กำหนดในรูปทรงต่างๆ เช่น เส้นตรง วงกลม รูปทรงสามเหลี่ยมระนาบ รูปทรงกรวย  เป็นต้น

ภาพตัวอย่าง

           

   

        กลุ่มที่ 5 เรื่องการวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น







      สรุปเนื้อหา: การวิเคราะห์ข้อมูลความน่าจะเป็น คือ การเก็บข้อมูลและการนำเสนอ  เช่น
 - การนำเสนอข้อมูล ในแผนภูมิอย่างง่าย    
      การวิเคราะห์ข้อมูลที่เหมาะสมในชั้นเรียนระดับปฐมวัยคือ การเปรียบเทียบและการประมวลข้อมูล หลายกิจกรรมในชั้นเรียนเกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์ข้อมูล
      





 ความรู้และการนำไปใช้

      จากที่ได้ฟังเพื่อนทุกกลุ่มในการนำเสนองานทำให้เราได้รู้ข้อมูลเกี่ยวกับคณิตศาสตร์สำหรับเด็กเพิ่มมากขึ้นไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของ จำนวนและการดำเนินงาน การวัด พีชคณิต เรขาคณิต และการวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น  ทำให้เราสามารถที่จะนำเนื้อหาความรู้ต่างๆ เหล่านี้ไปใช้ในการสอนเด็กปฐมวัยได้อย่างถูกต้องและมีเป็นหลักการ เพราะบางเนื้อหาเราไม่สามารถที่จะค้นหาด้วยตัวเองแต่เมื่อเพื่อนออกมานำเสนอทำให้เราเข้าใจ ได้มากยิ่งขึ้น  
     



วันอังคารที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 3




บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิ่น
วันที่ 21 เดือนพฤษจิกายน  2556
ครั้งที่ 3 กลุ่มเรียน 103 (วันพฤหัสบดีเช้า)
เวลา  08.30-12.20 น.



การเรียนในวันนี้
           
          อาจารย์ได้สอนเกี่ยวกับเรื่อง คณิตศาสตร์กับเด็กปฐมวัย  ดังนี้
  •       จุดมุ่งหมายของการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

           - ให้เด็กมีความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับวิชาคณิตศาสตร์
           - ให้เด็กพัฒนามโนภาพเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ เช่น การบวก การลบ
           - ให้เด็กรู้จักและใช้กระบวนการหาคำตอบ
           - ให้เด็กฝึกฝนคณิตศาสตร์พื้นฐาน
           - ให้เด็กมีความรู้ความเข้าใจ
           - ให้เด็กค้นหาคำตอบด้วยตนเอง


  •      ทักษะการสอนทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

               1. การสังเกต ( Observation )
               2. การจำแนกประเภท ( Classifying )
               3. การเปรียบเทียบ ( Comparing )
               4. การจัดลำดับ ( Ordering )
               5. การวัด  ( Measuerment )
               6. การนับ (Counting )
               7. รูปทรงและขนาด (Sharp and Size )


  •     คำศัพท์เกี่ยวกับคณิตศาสตร์

              ตัวเลข         : น้อย มาก น้อยกว่า มากกว่า ไม่มี ทั้งหมด
              ขนาด          : ใหญ่  คล้าย  สองเทา ใหญ่ที่สุด สูง  เตี้ย
              รูปร่าง          : สามเหลี่ยม  วงกลม  สี่เหลี่ยม  ยาว  โค้ง  สั้นกว่า  แถว
              ที่ตั้ง            : บน  คว่ำ  สูงที่สุด  ยอด  ก่อน  ระยะทาง  ระหว่าง
              ค่าของเงิน   :  สลึง  ห้าสิบสตางค์  หนึ่งบาท  ห้าบาท  สิบบาท
              ความเร็ว      : เร็ว  ช้า  เดิน  คลาน
              อุณหภูมิ      : เย็น  ร้อน  อุ่น  เดือด


กิจกรรมในวันนี้


    วันนี้อาจารย์ได้แจกกระดาษ A4 ให้กับนักศึกษาคนละแผ่น เพื่อที่จะให้วาดรูป โดยอาจารย์ได้กำหนดให้วาดรูปวงกลมขนาดเท่ากัลลูกปิงปอง1รูป  และให้นักศึกษาเขียนจำนวนตัวเลขที่เราชอบ1ตัวเลข ลงไปในวงที่เราวาดเอาไว้ หลังจากนั้นอาจารย์ได้แจกกระดาษสีให้กับนักศึกษา เพื่อที่จะให้นำไปตัดให้เป็นกลีบดอก ตามจำนวนที่เราเขียนลงไป



ภาพกิจกรรม





ความรู้และการนำไปใช้

    จากการเรียนในวันนี้ทำให้เราสามารถนำไปใช้สำหรับการสอนเด็กในอนาคตได้เป็นอย่างดี เพราะกิจกรรมที่เราได้ทำในวันนี้ ทำให้เราได้ความรู้ทั้งจำนวนและศิลปะผสมผสานกันไป  และเราสามารถจัดกิจกรรมแบบนี้ให้กับเด็กได้ปฎิบัติจริงได้อีกด้วย






บันทึกอนุทิน ครั้งที่2

บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิ่น
วันที่ 14 เดือนพฤษจิกายน  2556
ครั้งที่ 2 กลุ่มเรียน 103 (วันพฤหัสบดีเช้า)
เวลา  08.30-12.20 น.



การเรียนในวันนี้
      
      อาจารย์ได้สอนเกี่ยวกับความหมายของคณิตศาสตร์  ความสำคัญของคณิตศาสตร์  ทฤษฏีพัฒนาการด้านสติปัญญาของเด็กปฐมวัยตามแนวคิดของ Piaget การอนุรักษ์ หลักการการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  ดังนี้
      
      ความหมายของคณิตศาสตร์    หมายถึง ระบบการคิดของมนุษย์ ศึกษาอธิบายความสัมพันธ์ต่างๆในเชิงปริมาณ โดยใช้ภาพ สัญลักษณ์ การพูด การเขียน และเป็นการเรียนรู้เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับจำนวน ตัวเลข การคำนวณ หรือการดำเนินการเกี่ยวกับจำนวน ตัวเลขการวัด เรขาคณิต พืชคณิต หรือรูปแบบความสัมพันธ์ การวิเคราะห์ข้อมูลอย่างมีเหตุผล ซึ่งต้องใช้ความคิดที่เป็นระเบียบ มีเหตุผล และความคิดสร้างสรรค์

      ความสำคัญของคณิตศาสตร์
            - เกี่ยวข้องและสัมพันธ์กับชีวิตประจำวัน
            - ส่งเสริมกระบวนการคิดแก้ปัญหาโดยเฉพาะอาศัยหลักการทางคณิตศาสตร์
            - เป็นเครื่องมือที่สำคัญในการสำรวจข้อมูล  วางแผนงานและประเมินผล
            - เป็นพื้นฐานในการเรียนรู้ของวิชาต่างๆ โดยเฉพาะวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี


      ทฤษฏีพัฒนาการด้านสติปัญญาของเด็กปฐมวัยตามแนวคิดของ Piaget
            1. ขั้นพัฒนาการด้านประสาทสัมผัส (Sensorimotor)  แรกเกิด-2 ปี
            2. ขั้นเตรียมการความคิดที่มีเหตุผล (Preoperational) อายุ 2-7 ปี


     การอนุรักษ์     เด็กสามารถพัฒนาการอนุรักษ์ได้โดย
            - การนับ
            - การจับคู่หนึ่งต่อเนื่อง
            - การเปรียบเทียบรูปทรง ปริมาตร
            - การเรียงลำดับ
            - การจัดกลุ่ม


กิจกรรมในวันนี้

         อาจารย์ได้ให้นักศึกษาทุกคนวาดรูปสัตว์อะไรก็ได้ที่มีจำนวนขาเยอะที่สุด  ตามความคิดของนักศึกษา และพร้อมกับลงสีให้สวยงาม ซึ่งในการวาดภาพสัตว์ที่มีขาเยอะๆ เสร็จแล้วอาจารย์ก็ให้เราได้มีการผสมผสานกระดาษสีต่างๆให้เข้ากับขาสัตว์ ก็คือเป็นการตัดปะนั้นเอง 







ความรู้และการนำไปใช้

          จากที่ได้เรียนในวันนี้สามารถนำไปใช้ในอานาคตข้างหน้าได้ ไม่ว่าจะเป็นความรู้เกี่ยวกับหลักการต่างๆ  หรือกิจกรรมการวาดรูปซึ่งจะทำให้เราได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบชิ้นงาน และเราสามารถที่จะนะกระดาษสีต่างๆมาบูรณการเป็นภาพติดปะ ตามใจเด็กๆได้ ในการที่เราได้ออกฝึกสอน
       




วันพุธที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 1

บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิ่น
วันที่ 7  เดือนพฤษจิกายน  2556
ครั้งที่ 1 กลุ่มเรียน 103 (วันพฤหัสบดีเช้า)
เวลา  08.30-12.20 น.





การเข้าเรียนในวันนี้

อาจารย์ได้แจก Course  Syllabus  ให้กับนักศึกษาและได้ชี้แจงเกี่ยวกับแนวการสอนของวิชานี้ ได้อธิบายถึง ความหมาย ความสำคัญ แนวคิด หลักการ และทฤษฎีที่เกี่ยวกับพัฒนาการการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์ และมีข้อตกลงของการเรียนวิชานี้ 
  

-  ทุกครั้งที่เรียนจะตรวจสอบรายชื่อและการแต่งกายทุกคน
-  มาเรียนเกิน  15 นาที จะถือว่ามาสาย
-  ต้องมีเวลาเรียนไม่ต่ำกว่า 80% ของเวลาเรียนทั้งหมด
-  ไม่ใช่โทรศัพท์มือถือ
-  งานที่ได้รับมอบหมาย ต้องส่งตามเวลาที่กำหนด
-  งานกลุ่มต้องปฏิบัติตามเกณฑ์โดยเคร่งครัด
-  ปฏิบัติตนเป็นนักศึกษาครูปฐมวัยที่ดี


กิจกรรมในวันนี้

อาจารย์ได้สั่งให้ทำ mind map  โดยให้ทำเกี่ยวกับความรู้ที่เราเคยเรียนมา  ในหัวข้อ : การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย : ซึ่งเราจะต้องเขียนให้เชื่อมโยงกับการเรียนการสอนในวิชาคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย





ภาพกิจกรรม


ความรู้และการนำไปใช้

- ทำให้เราสามารถคิดทบทวนความรู้เดิมได้
- สามารถนำความรู้เดิมที่เราเคยเรียนมานำมาประยุกต์ใช้ใหม่ได้
- ได้แนวทางในการที่จะจัดการเรียนการสอนเกี่ยวกับคณิตศาสตร์สำหรับเด็กได้ เพื่อนำไปใช้ในอนาคต